วรรณคดีไทย




ลิลิตตะเล็งพ่าย



ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี 
(ร่าย) กล่าวสดุดีที่ทรงมีชัยชนะในการทำยุทธหัตถีต่อพระมหาอุปราชาว่าพระเกียรติ เกริกไกรไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ข้าศึกเกรงพระบรมเดชานุภาพไม่กล้าเสี่ยงทำสงคราม จึงพากันยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้น กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมีความสุขสำราญพรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ พร้อม
สรรพด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารอันสมบูรณ์ บ้านเมืองมีแต่ความสงบปราศจากศึกสงคราม ข้าราชการ
ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในก็พากันเฝ้าแหนอย่างพร้อมพรั่ง เหล่าทหารพล ช้าง ม้า อาวุธ ปืนไฟ ก็มีมากมาย ทั่วโลกล้วนสรรเสริญสดุดี
(โคลง สี่สุภาพ) บุญญานุภาพแห่งพระนเรศวรมหาราชกษัตริย์แห่งแผ่นดินสยาม ข้าศึกได้ยินพระเกียรติยศชื่อเสียง ก็พากันเกรงพระบรมเดชานุภาพ ฤทธิ์ของพระองค์ดั่งพระรามที่ปราบยักษ์ก็ปานกัน เมื่อทำสงครามข้าศึกก็ต้องพ่ายแพ้ทุกครั้ง
ข้าศึกพินาศไปเหมือนทหาร ยักษ์ พระองค์ดั่งพระรามอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ ข้าศึกแม้ตั้งแสนก็ไม่อาจต่อสู้ฤทธิ์พระองค์ได้ พากันตกใจกลัวแล้วหนีไป
เสร็จ ศึกแล้วก็ขึ้นครองราชสมบัติ พระบารมีของพระองค์ทำให้บ้านเมืองร่มเย็นดุจแสงเดือนที่ส่องอยู่บนท้องฟ้า ทุกแห่งหนทั่วบ้านเมืองมีแต่ความสมบูรณ์ ปราศจากความทุกข์ใดๆทั้งสิ้น จนเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทั่วไปทุกแหล่งหล้า

ตอนที่ 2 เหตุการณ์ทางเมืองมอญ 
ฝ่าย นครรามัญ คือ หงสาวดี ทราบข่าวว่าพระมหาธรรมราชากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาถึงแก่พิราลัย พระราชโอรส คือ พระนเรศวรได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้ประชุมหมู่อำมาตย์ปรึกษากันว่า กรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ บางทีโอรสทั้งสองพระองค์อาจจะวิวาทกันเพื่อแย่งชิงราชสมบัติ เราควรยกทัพไปดูลาดเลา ถ้าได้เปรียบก็จะได้รบแย่งชิงเอาบ้านเมืองเสีย ขุนนางทั้งหลายต่างก็เห็นชอบตามพระราชดำริ จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชาราชโอรสจัดเตรียมทัพพร้อมด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ เป็นจำนวนห้าแสนคนยกไปตีกรุงศรีอยุธยา พระมหาอุปราชากราบบังคมทูลว่าโหรทำนายว่าพระองค์เคราะห์ร้ายชะตาถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสเป็นเชิงประชดว่า “เจ้าอยุธยามีโอรสเก่งกล้าสามารถในการรบ ไม่ต้องให้พระบิดาใช้ แต่กลับต้องไม่ให้ทำศึกเสียอีก ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะจะได้หมดเคราะห์” พระมหาอุปราชาทรงอับอายขุนนางข้าราชการเป็นอันมาก จึงเตรียมยกทัพโดยเกณฑ์จากหัวเมืองต่างๆรวมจำนวนห้าแสนคนเตรียมยกทัพไปใน เวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จกลับตำหนักสั่งลาพระสนมทั้งหลายด้วยความอาวรณ์จนถึงรุ่งเช้า ยังไม่ทันสว่างก็แต่งองค์ทรงเครื่องเสร็จแล้วก็ไปเฝ้าพระราชบิดาเพื่อ ทูลลาไปราชสงคราม ณ กรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าหงสาวดีก็พระราชทานพรให้ ชนะศึกสยามในครั้งนี้ แล้วก็ทรงเตือนว่าสงครามนั้นมากด้วยกลอุบาย อย่าคิดอะไรตื้นๆ อย่าทะนงตน แล้วทรงชี้เรื่องที่โบราณสั่งสอนไว้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรบ คือ โอวาท 8 ประการ
1. อย่าเป็นคนหูเบา (จงพ่อย่ายินยล แต่ตื้น)
2. อย่าทำอะไรตามใจตนเอง ไม่นึกถึงใจผู้อื่น (อย่าลองคะนองตน ตามชอบ ทำนา)
3. รู้จักเอาใจทหารให้หึกเหิมอยู่เสมอ (เอาใจทหารหาญ เริงรื่น อยู่นา)
4. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาดและคนโง่ (อย่าระคนปนใกล้ เกลือกกลั้วขลาดเขลา)
5. ควรรอบรู้ในการจัดกระบวนทัพทุกรูปแบบ (หนึ่งรู้พยุหเศิกไสร้ สบสถาน)
6. รู้หลักพิชัยสงคราม การตั้งค่าย (รู้เชิงพิชัยชาญ ชุมค่าย ควรนา)
7. รู้จักให้บำเหน็จความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองที่เก่งกล้า
(หนึ่งรู้บำเหน็จให้ ขุนพล
อันสมรรถมือผจญ จืดเสี้ยน)
8. อย่าลดความเพียรหรืออย่าเกียจคร้าน (อย่าหย่อนวิริยะยล อย่างเกียจ)
ครั้ง ทรงรับโอวาทและคำประสาทพรแล้ว ก็กราบบังคมลามาที่เกยประทับบนหลังช้างพระที่นั่งพลายพัทธกอ ยกกองทัพออกจากพระนครผ่านโขลนทวารเสด็จพระราชดำเนินไปโดยทางสถลมารคทันที

ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี 
พระ มหาอุปราชายกทัพมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ (ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างพม่ากับไทยในปัจจุบัน) ก็ผ่านด่านเจดีย์สามองค์เข้ามาในเขตสยามทันที และพระองค์ได้ทรงรำพันถึงนางสนมว่า
(24) เสด็จมาลำพังพระองค์เดียวเปล่าเปลี่ยวใจและน่าเศร้านัก เมื่อทรงชมต้นไม้และดอกไม้ที่ทรงพบเห็นระหว่างทางก็ค่อยเบิกบานพระทัยขึ้นมา บ้าง แต่ก็ไม่วายคิดถึงนางสนมกำนัลทั้งหลาย
(25) ทรงเห็นต้นสลัดไดทรงดำริว่าเหตุใดจึงต้องจากน้องมานอนป่า มาเพื่อทำสงครามกับข้าศึก เห็นต้นสละที่ต้องสละน้องมาเหมือนชื่อต้นไม้ เห็นต้นระกำที่ชื่อต้นไม้ช่างเหมือนอกพี่แท้ๆ
(26) ต้นสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่น แต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความทุกข์คิดถึงน้องทุกค่ำเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดรักน้องได้อย่างไร
(27) กองทัพมอญดูมืดฟ้ามัวดิน ทั้งกองทัพ ม้า ช้าง ถืออาวุธเป็นมันปลาบ เห็นธงปลิวไสวเต็มทองฟ้า

ฝ่ายเจ้าเมืองกาญจนบุรี จัดทหารไปสืบข่าวในเขตมอญ ทหารก็ลัดเลาะไปทางลำน้ำแม่
กษัตริย์ เห็นกองทัพยกมาก็ตกใจ เห็นฉัตรห้าชั้นก็ทราบว่าเป็นพระมหาอุปราชายกทัพมา ก็รีบกลับมาแจ้งข่าวศึกให้เจ้าเมืองกาญจนบุรีทราบ เจ้าเมืองทราบข่าวศึกก็ตกใจมากจนขวัญไม่อยู่กับตัว ปรึกษากันแล้วก็เห็นว่าเมืองเรามีกำลังน้อย ต่อสู้ก็คงสู้ไม่ได้จึงชวนกันหลบหนีเข้าป่าไป
ส่วนกองทัพพระมหาอุป ราชาเร่งยกทัพมาถึงแม่น้ำลำกระเพิน ให้พระยาจิตตองทำสะพานไม้ไผ่ปูเพื่อยกพลเดินข้ามฝาก ชาวสยามเห็นชัดเช่นนั้นจึงมีสารลงชื่อทุกคนรายงานเรื่องข้าศึกยกทัพเข้ามา แล้วให้ขุนแผน (นายด่าน) ขี่ม้าเร็วมาบอกพญามหาดไทย เพื่อกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
กองทัพมอญยกทัพมาถึงเมืองกาญจนบุรี เห็นบ้านเมืองว่างเปล่า ไม่มีผู้ใดออกสู้รบ จะจับคนไทยมาสอบถามก็ไม่มีเลยสักคน จึงรู้ว่าคนไทยทราบข่าวและหลบหนีไปหมดแล้ว พระมหาอุปราชาจึงให้ยกทัพเข้าไปในเมือง แล้วยกทัพต่อไปถึงตำบลพนมทวนเกิดลมเวรัมภาพัดหอบเอาฉัตรหัก พระมหาอุปราชาตกพระทัย ทรงให้โหรทำนาย โหรทราบถึงลางร้ายแต่ไม่กล้ากราบทูลตามความจริง กลับทำนายว่า เหตุการณ์เช่นนี้ถ้าเกิดในตอนเช้าไม่ดี ถ้าเกิดในตอนเย็นจะได้ลาภ และจะชนะศึกสยามในครั้งนี้
พระมหาอุปราชาได้ทรงฟังก็ทรงเชื่อครึ่ง ไม่เชื่อครึ่ง พระองค์อดที่จะหวั่นในพระทัยไม่ได้ด้วยเกรงพ่ายแพ้ข้าศึก ด้วยความหมกมุ่นในพระทัยก็ทรงระลึกถึงพระราชบิดาว่าถ้าพระองค์เสียโอรสให้แก ข้าศึก จะต้องโทมนัสใหญ่หลวง เพราะเปรียบเหมือนพระองค์ถูกตัดพระพาหาทั้งสองข้างทีเดียว
การรบกับพระนเรศวรใครก็ไม่อาจจะต่อสู้ได้ เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน
สงสารสมเด็จพระราชบิดา ที่จะต้องเปล่าเปลี่ยวพระทัย ทั้งพระองค์ก็ทรงชราภาพมากแล้ว เกรงจะพ่ายแพ้เสียทีแก่ชาวสยาม
สงคราม ครั้งนี้หนักใจนัก เรารู้สึกหนาวเหน็บอยู่ในใจ ลูกตายใครจะเก็บผีไปให้ คงจะถูกทิ้งอยู่ไม่มีใครเผา พระองค์จะอยู่ในพระนครแต่ลำพังพระองค์เดียว ไม่มีใครเป็นคู่ทุกข์ริเริ่มสงครามเพียงลำพังได้อย่างไร พระองค์คงจะต้องคับแค้นพระทัย
ฝ่ายเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ๆ คือ เมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณ ก็พากันอพยพผู้คนหนีเข้าป่า แล้วมีสารไปกราบให้พระนเรศวรทรงทราบ

ตอนที่ 4 พระนเรศวรทรงปรารภเรื่องตีเมืองเขมร 
ขณะ นั้น สมเด็จพระนเรศวรประทับออกขุนนางอยู่ในท้องพระโรง ได้มีพระราชดำรัสถามถึงทุกข์สุขของปวงชน ขุนนางก็กราบทูลให้ทรงทราบ พระองค์ทรงตัดสอนคดีด้วยความยุติธรรม ราษฎรก็อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
แล้ว พระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงการที่จะยกทัพไปตีเขมร โดยกำหนดวันที่จะยกทัพออกไป ส่วนทัพเรือจะให้เกณฑ์หัวเมืองปักษ์ใต้เพื่อยกไปตีเมืองพุทไธมาศและเมืองบัก สักแล้ว ให้เข้าล้อมเมืองหลวงของเขมรไว้
พระองค์ทรงพระวิตกว่าพม่าจะ ยกกองทัพมา จะได้ให้ใครอยู่ป้องกันบ้านเมืองรอพระองค์เสด็จกลับมา ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเป็นผู้ที่เหมาะสมก็ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาบ้าน เมือง แต่ทรงคาดคะเนว่าทัพพม่าพึ่งจะแตกไปเมื่อต้นปี ปีนี้คงจะยังไม่ยกมา ถ้ามีก็เห็นจะเป็นปีหน้า ขณะที่ทรงปรึกษากันอยู่นั้น ทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาถึง และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระองค์กลับทรงยินดีที่ได้รับข่าวศึก จึงให้พระเอกาทศรถเข้าเฝ้าเพื่อแจ้งข่าวให้ทราบ

ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรทรงเตรียมการสู้ศึกมอญ 
สมเด็จ พระนเรศวรมีพระราชดำรัสว่า เราเตรียมทัพจะไปตีเขมร ศึกมอญกลับมาชิงตัดหน้า ไม่ให้เราไปรบเขมร เราจะได้ยกไปทำสงครามเพื่อเป็นการรื่นเริงครั้งยิ่งใหญ่ และจะต้องเอาชนะให้ได้ก่อน แล้วพระองค์ก็มีรับสั่งให้ประกาศแก่เมืองราชบุรีให้เกณฑ์ทหารจำนวน 500 คน
ไปซุ่มดูข้าศึกขณะกำลังข้ามสะพานที่ลำกระเพินและให้รีบตัดสะพานให้ขาด จุดไฟเผาอย่าให้เหลือ
แล้วให้หลบหนีกลับมาอย่าให้ข้าศึกจับได้
พอ รับสั่งเสร็จ ทูตจากเมืองสิงห์ เมืองสรรค์ เมืองสุพรรณบุรี ก็มาถึง เขาก็เบิกตัวเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเรื่องราวและถวายสารให้ทรงทราบว่า ขณะนี้กองทัพมอญลาดตระเวนเข้ามาถึงเขตเมืองวิเศษไชยชาญแล้ว สมเด็จ พระนเรศวรได้ทรงเกรงกลัวข้าศึกแม้แต่น้อย กลับโสมนัสที่จะได้ปราบข้าศึก ทั้งสองพระองค์ปรึกษาถึงกลศึกที่จะรับมือกับมอญ ขุนนางได้ถวายคำแนะนำให้ออกไปรับข้าศึกที่นอกกรุงศรีอยุธยา ความคิดนี้ตรงกลับพระดำริของพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้จัดทัพกำลังพลห้าหมื่น
เกณฑ์จากหัวเมืองตรีและจัตวา 23 หัวเมืองใต้ เป็นทัพหน้า ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพ พระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพ โดยให้กองหน้าออกไปต่อสู้ข้าศึก หากสู้ไม่ได้พระองค์จะออกไปต่อสู้ในภายหลัง ทั้งสองแม่ทัพรับพระบรมราชโองการแล้วก็ยกทัพไปตั้งอยู่ตำบลหนองสาหร่าย โดยตั้งค่ายเป็นรูปภูมิพยุหไกรสร ทหารทั้งปวงก็ขวัญดีมีความรื่นเริงทั่วหน้า ตั้งรอทัพข้าศึกอยู่

ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ 
ขณะ นั้นสมเด็จพระนเรศวรก็มีรับสั่งให้โหรหาฤกษ์ที่จะยกทัพหลวงไป หลวงญาณโยคและหลวงโลกทีปคำนวณพระฤกษ์ว่า พระนเรศวรได้จตุรงคโชคอาจปราบข้าศึกให้แพ้สงครามไป
ขอเชิญเสด็จยกทัพออกจากพระนคร ณ วันอาทิตย์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือนยี่ เวลา 8.30 น.
เมื่อ ได้มงคลฤกษ์ ทรงเคลื่อนพยุหยาตราเข้าโขลนทวาร พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่กองทัพเสด็จทางชลมารคไปประทับแรมที่ตำบลปาก โมก เมื่อประทับที่ปากโมก สมเด็จพระนเรศวรทรงปรึกษาการศึกอยู่กับขุนนางผู้ใหญ่จนยามที่สามจึงเสด็จ เข้าที่บรรทม ครั้นเวลา 4 นาฬิกา พระองค์ทรงพระสุบินเป็นศุภนิมิติ
เรื่อง ราวราวในพระสุบินของสมเด็จพระนเรศวรมีว่า พระองค์ได้ทอดพระเนตรน้ำไหลบ่าท่วมป่าสูง ทางทิศตะวันตก เป็นแนวยาวสุดพระเนตร และพระองค์ทรงลุยกระแสน้ำอันเชี่ยวและกว้างใหญ่นั้น จระเข้ใหญ่ตัวหนึ่งโถมปะทะและจะกัดพระองค์ จึงเกิดต่อสู้กันขึ้น พระองค์ใช้พระแสงดาบฟันถูกจระเข้ตาย ทันใดนั้นสายน้ำก็เหือดแห้งไป พอตื่นบรรทมสมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้โหรทำนายพระสุบินนิมิตทันที พระโหราธิบดีถวายพยากรณ์ว่า พระสุบินครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเทวดาสังหรให้ทราบเป็นนัย น้ำซึ่งไหลบ่าท่วมป่าทางทิศตะวันตกหมายถึงกองทัพของมอญ จระเข้คือพระมหาอุปราชา การสงครามครั้งนี้จะเป็นการใหญ่ ขนาดถึงได้กระทำยุตธหัตถีกัน การที่พระองค์เอาชนะจระเข้ได้แสดงว่าศัตรูของพระองค์จะต้องสิ้นชีวิตลงด้วย พระแสงของ้าว และที่พระองค์ทรงกระแสน้ำนั้น หมายความว่า พระองค์จะรุกไล่บุกฝ่าไปในหมู่ข้าศึกจนข้าศึกแตกพ่ายไปไม่อาจจะทานพระบรมเด ชานุภาพได้
พอใกล้ฤกษ์ยกทัพ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถเสด็จไปยังเกยทรงช้างพระที่นั่ง คอยพิชัยฤกษ์อยู่ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรือง งาม ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็นทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้งสองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ อธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุนั้นบันดาลให้พระองค์ชนะข้าศึก
แล้ว สมเด็จพระนเรศวรเสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาไชยานุภาพ สมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จประทับช้างทรง คือ เจ้าพระยาปราบไตรจักร เคลื่อนขบวนทัพพยุหยาตราต่อไป

ตอนที่ 7 พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกทัพเข้าปะทะหน้าของไทย 
ฝ่าย กองตระเวนของมอญ ซึ่งได้รับคำสั่งให้มาสืบข่าวดูกองทัพไทยซึ่งจะออกมาต่อสู้ต้านทานจะได้นำ ข่าวมาพระมหาอุปราชา สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน พร้อมด้วยกองม้าจำนวน 500 คน ได้ไปพบกองทัพไทยตั้งค่ายรอรับอยู่ที่หนองสาหร่ายจึงรีบกลับไปทูลแด่องค์พระ มหาอุปราชา พระองค์ตรัสถามนายกองทั้งสามว่าประมาณกำลังพลฝ่ายไทยประมาณเท่าใด นายกองกราบทูลว่า ประมาณสิบ – สิบแปด หมื่น ดูเต็มท้องทุ่ง พระมหาอุปราชาตรัสว่ากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์ออกมารอรับทัพเป็นกองใหญ่ แต่กำลังน้อยกว่าของเรา ของเรามากกว่าหลายส่วน
เราจะต้องรีบโจมตีหัก เอาให้ได้ตั้งแต่แรกจะได้เบาแรง แล้วจะได้ไปล้อมกรุงศรีอยุธยาชิงเอาราชสมบัติเห็นจะได้เมืองโดยสะดวก แล้วรับสั่งให้ขุนพลเตรียมทัพให้เสร็จแต่ 3 นาฬิกา พอ 5 นาฬิกา
ก็ยกไปโดยกะสว่างเอาข้างหน้า พรุ่งนี้เช้าจะได้เข้าโจมตี
เสนาผู้ใหญ่ได้ทำตามรับสั่ง เมื่อถึงเวลาตีห้า พระมหาอุปราชาแต่งองค์แล้วเสด็จประทับช้างพลายพัธกอซึ่งกำลังตกมัน
พระยา ศรีไสยณรงค์และพระราชฤทธานนท์ เมื่อได้รับพระบรมราชโองการให้ออกโจมตีข้าศึก จึงจัดทัพพร้อมด้วยกำลังพล 5 หมื่น และจัดทัพแบบตรีเสนา คือแบ่งเป็นทัพใหญ่ 3 ทัพ
แต่ล่ะทัพแยกออกเป็น 3 กอง ดังนี้

กองหน้า เจ้าเมืองธนบุรี (นายกองหน้า ปีกซ้าย)
พระยาสุพรรณบุรี ( นายกองหน้า )
เจ้าเมืองนนทบุรี (นายกองหน้า ปีกขวา)

กองหลวง เจ้าเมืองสรรคบุรี (นายกอง ปีกซ้าย)
พระยาศรีไสยณรงค์ (แม่ทัพ ขี่ช้างพลายสุรงคเดชะ)
เจ้าเมืองสิงห์บุรี (นายกอง ปีกขวา)

กองหลัง เจ้าเมืองชัยนาท (นายกองหลัง ปีกซ้าย)
พระราชฤทธานนท์ (ปลัดทัพคุมกองหลัง)
พระยาวิเศษชัยชาญ (นายกองหลัง ปีกขวา)

ทัพ ไทยเคลื่อนออกจากหนองสาหร่ายถึงโคกเผาข้าวเวลาประมาณ 7 นาฬิกา ได้ปะทะกับทัพมอญ ทั้งสองฝ่ายได้ต่อสู้กันด้วยอาวุธชนิดเดียวกันเป็นคู่ๆ ด้วยความสามารถ ต่างฝ่ายก็ล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่เหลือก็ต่อสู้กันอย่างไม่เกรงกลัว กองทัพมอญที่ตามมามีมากขึ้น ตีโอบล้อมกองทัพไทย ฝ่ายไทยกำลังน้อยกว่า กระจายออกรับไม่ไหว จึงต้องถอย
ขณะนั้นสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถก็ทรงเตรียมกำลังทหารไว้อย่างพร้อมเพรียงตั้งแต่ยังไม่สว่าง จนแสงเงินแสงทองจับขอบฟ้า

ตอนที่ 8 ทัพหน้าไทยถอยไม่เป็นกระบวน 
ขณะ ที่พราหมณ์ผู้ทำพิธีและผู้ชำนาญไสยศาสตร์ ทำพิธีเบิกประตูป่าและพิธีละว้าเซ่นไก่ หลวงมหาวิชัยรับพระแสงดาบอาญาสิทธิ์ ไปทำพิธีตัดไม้ข่มนามตามไสยศาสตร์ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับเสียงปืนซึ่งไทยกับมอญกำลังยิงต่อสู้กันอยู่ แต่เสียงนั้นอยู่ไกลฟังไม่ถนัด จึงรับสั่งให้หมื่นทิพเสนารีบไปสืบข่าว หมื่นทิพเสนาขึ้นม้าไปอย่างรวดเร็ว ถึงกองทัพไทยที่กำลังล่าถอย รับพลางถอยพลาง มอญตามมาอย่างกระชั้นชิด หมื่นทิพเสนาได้นำขุนหมื่นผู้หนึ่งมาเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร ขุนหมื่นผู้นั้นกราบทูลว่า เมื่อเวลา 7 นาฬิกา ทัพไทยได้ปะทะกับทัพมอญที่ตำบลโคกเผาข้าว ทัพไทยต้องถอยร่นอยู่ตลอดเวลา เพราะกำลังข้าศึกมีมากกว่า สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองว่าควรคิดหาอุบายแก้ไขการศึกษา อย่างไร บรรดาแม่ทัพนายกองกราบทูลขอให้พระองค์ส่งทัพไปยันไว้ ให้ข้าศึกอ่อนกำลังลงก่อนจึงเสด็จยกทัพหลวงออกต่อสู้ภายหลัง สมเด็จพระนเรศวรตรัสตอบว่า “ทัพไทยกำลังแตกพ่ายอยู่ ถ้าจะส่งทัพไปต้านทานอีก ก็จะพลอยแตกอีกเป็นครั้งที่ 2 ควรที่ล่าถอยลงมาโดยไม่หยุดยั้ง เพื่อลวงข้าศึกให้ละเลิงใจ ยกติดตามมาไม่เป็นขบวนพอได้ทีให้ยกกำลังส่วนใหญ่ออกโจมตี ก็คงจะได้ชัยชนะอย่างง่ายดาย” แม่ทัพนายกองเห็นชอบด้วยกับพระราชดำรินั้น สมเด็จพระนเรศวรจึงมีรับสั่งให้หมื่นทิพเสนากับหมื่นราชามาตย์ไปแจ้งทัพหน้า ของไทยให้ล่าถอยโดยเร็ว ทัพหน้าไทยจึงรีบถอยร่น ทัพพม่าไม่รู้กลอุบาย ก็รุกไล่ตามจนเสียกระบวน

ตอนที่ 9 ทัพหลวงเคลื่อนพล ช้างทรงพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก 
ขณะ สมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศ พายัพ แล้วก็กลับแลดูท้องฟ้าแจ่มกระจ่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้าโดยไม่มีอะไรบดบัง อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและชี้ให้เห็นความมีโชคดี สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงเคลื่อนพลตาม เกล็ดนาค ตามตำราพิชัยสงคราม จนปะทะเข้ากับกองทัพข้าศึก ช้างพระที่นั่งทั้งสอง คือ พระเจ้าไชยานุภาพ และ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ได้สดับเสียง ฆ้อง กลอง และเสียงปืนของข้าศึก ก็ส่งเสียงร้องด้วยความคึกคะนอง เพราะกำลังตกมัน ควาญบังคับไว้ไม่อยู่ มันวิ่งไปโดยเร็ว จนทหารในกองตามไม่ทัน มีแต่กลางช้างและควาญช้างสี่คนเท่านั้นที่ตามเสด็จไปด้วยจนเข้าไปใกล้กอง หน้าของข้าศึก ช้างศึกได้กลิ่น มัน ก็พากันตกใจหนีไปปะทะกับพวกที่ตามมาข้างหลัง ช้างทรงไล่แทงช้างของข้าศึกอย่างเมามัน ทหารพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก ข้าศึกยิงปืนเข้าใส่ แต่ไม่ถูกช้างทรง การต่อสู้เป็นแบบตะลุมบอนจนฝุ่นตลบมองหน้ากันไม่เห็น เหมือนกับเวลากลางคืน
สมเด็จ พระนเรศวรจึงตรัสประกาศแด่เทวดาทั้งหลายบนสวสรรค์ทั้งหกชั้น และพรหมทั้งสิบหกชั้นว่า ที่ให้พระองค์ท่านมาประสูตรเป็นพระมหากษัตริย์ครองราชย์สมบัติก็ด้วยหวังจะ ให้ทะนุบำรุงศาสนา และพระรัตนตรัยให้เจริญรุ่งเรือง เหตุใดเล่าเทวดาจึงไม่บันดาลให้ท้องฟ้าสว่างมองเห็นข้าศึกได้ชัดเจน พอดำรัสจบไม่นานก็เกิดพายุใหญ่พัดหอบเอาฝุ่นและควันหายไป ท้องฟ้าสว่างดังเดิม มองเห็นสนามรบได้ชัดเจน พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงช้างประทับยืนอยู่ใต้ต้นไม้ข่อย มีทหารห้อมล้อมและตั้งเครื่องสูงครบครัน
ทั้งสองพระองค์ทรงไสช้างเข้าไปหาด้วยพระพักตร์ที่ผ่องใสไม่เกรงกลัวแม้แต่น้อย ข้าศึกยิงปืนไฟเข้ามาแต่ก็มิได้ต้องพระองค์เลย

ตอนที่ 10 ยุทธหัตถี และชัยชนะของไทย 
สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระราชดำรัสอันไพเราะไม่มีสุรเสียงขุ่นแค้นพระทัยเลยแม้แต่น้อยว่า
“ ผู้ทรงเป็นใหญ่แห่งประเทศมอญ พระเกียรคิยศเลื่องลือไปไกลทั่วทั้งสิบทิศ ข้าศึกได้ยินก็เกรงพระบรมเดชานุภาพ ไม่กล้าสู้รบพากันหนีไป
พระ เจ้าผู้พี่ปกครองประเทศอันบริบูรณ์ยิ่ง เป็นการไม่สมควรเลยที่พระเจ้าพี่ประทับอยู่ใต้ร่มไม้ เชิญพระองค์เสด็จมาร่วมทำยุทธหัตถีร่วมกัน เพื่อแสดงเกียรคิไว้ให้เป็นที่ปรากฏ ต่อจากเราทั้งสองจะไม่มีอีกแล้ว
การ รบด้วยการชนช้างจะถึงที่สุดเพียงนี้ ต่อไปจะไม่ได้ไม่พบอีก การที่กษัตริย์ทำยุทธหัตถีกัน ก็คงมีแต่เราสองพี่น้อง ตราบชั่วฟ้าดินสลาย
การ ทำยุทธหัตถีก็เปรียบประดุจการเล่นที่รื่นเริงของกษัตริย์เพื่อให้ชมเล่นเป็น ขวัญตาแก่มนุษย์จนถึงเมืองสวรรค์ ขอทูลเชิญเทวดาและพรหมทั้งปวงมาประชุมในสถานที่นี้เพื่อชมการยุทธหัตถี ผู้ใดเชี่ยวชาญกว่า ขอทรงอวยพรให้ผู้นั้นรับชัยชนะ  หวังจะให้พระเกียรติยศในการรบครั้งนี้ดำรงอยู่ชั่วฟ้าดิน ว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ได้กระทำสงครามกัน ใครรู้เรื่องก็จะได้ยกย่องสรรเสริญกันตลอดไป ”

เมื่อสมเด็จ พระนเรศวรได้ตรัสพรรณนาดังนั้น พระมหาอุปราชาได้ทรงสดับก็บังเกิดขัตติยะมานะกล้าหาญขึ้น รีบไสช้างเข้าต่อสู้โดยเร็วด้วยความกล้าหาญ   ช้างทรงของผู้เป็นใหญ่ทั้งสองพระองค์ เปรียบเหมือนช้างเอราวัณและช้างคิรีเมขล์อันเป็นพาหนะของวัสวดีมาร ต่างส่ายเศียรและหงายงาโถมแทงอยู่ขวักไขว่  สองกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่งามเลิศล้ำน่าชมยิ่งหนัก ประหนึ่งพระอินทร์และไพจิตราสูรทำสงครามกัน หรือไม่ก็เหมือนกับพระรามรบกับทศกัณฐ์ กษัตริย์อื่นในทุกประเทศและทุกทิศไม่เสมอเหมือน กษัตริย์แห่งกรุงสยามก็สามารถต้านพระมหาอุปราชาได้ ทั้งสองไม่ทรงเกรงกลัวกันเลย และไม่ได้ลดความห้าวหาญลงแม้แต่น้อย พระหัตถ์ก็ยกพระแสงของ้าวขึ้นกวัดแกว่งตามแบบฉบับ  ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรโถมเข้าใส่ไม่ทันตั้งหลักยั้งตัว ช้างทรงของพระมหาอุปราชาได้ล่างใช้งาทั้งคู่ค้ำคางเจ้าพระยาไชยานุภาพแหงน สูงขึ้น จึงได้ทีถนัด พระมหาอุปราชาเห็นเป็นโอกาส จึงเงื้อพระแสงของ้าวจ้วงฟันอย่างแรงราวกับจักรหมุน แต่สมเด็จพระนเรศวรทรงเบี่ยงพระมาลาหลบพร้อมกับใช้พระแสงของ้าวปัดเสียทัน อาวุธของพระมหาอุปราชาจึงไม่ถูกพระองค์

ทันใดนั้นช้างทรงของ สมเด็จพระนเรศวรเบนสะบัดได้ล่าง จึงใช้งางัดคอช้างของพระมหาอุปราชาจนหงาย ช้างของพระมหาอุปราชาเสียท่าต้องถอยหลังพลาดท่าในการรบ สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกพระมหาอุปราชาที่พระอังสาขวา ขาดสะพายแล่ง
พระอุระของพระมหาอุปราชาถูกฟันจนเป็นรอยแยก พระวรกายก็เอนซบอยู่บนคอช้างเป็นที่น่าสลดใจ สิ้นพระชนม์แล้วได้ไปสถิตในแดนสวรรค์   ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร คือ นายมหานุภาพก็ถูกปืนข้าศึกเสียชีวิต ส่วนสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทำยุทธหัตถีกับ มางจาชโร (พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา) พระเอกาทศรถได้ใช้พระแสงของ้าวฟันถูกมางจาชโรตายซบอยู่บนหลังพลายพัชเนียร นั่นเอง และกลางช้างของพระเอกาทศรถ คือ หมื่นภักดีศวรก็ถูกปืนข้าศึกตาย
ทั้ง สองพระองค์รบกับข้าศึกในครั้งนี้ด้วยพระบรมเดชานุภาพ เพราะมีแค่ทหารสี่คนและพระองค์ทั้งสองเท่านั้น พระเกียรติจึงแผ่ไปไกล ทหารที่ติดตามไปตายสองและรอดกลับมาสอง
กองทัพไทยติดตามมาทันเมื่อพระ มหาอุปราชาขาดคอช้างแล้ว ต่างก็รีบเข้ามาช่วยรบ ฆ่าฟันทหาร พม่า มอญ ไทยใหญ่ ลาว เชียงใหม่ ตายลงจำนวนมากเหลือคณานับ ที่เหลือบุกป่าฝ่าดงหนีไป ทั้งนี้เป็นพระบรมเดชานุภาพของพระองค์โดยแท้

ตอนที่ 11 พระนเรศวรทรงสร้างสถูปและปูนบำเหน็จทหาร 
สมเด็จ พระนเรศวรมีรับสั่งให้สร้างสถูปสวมทับที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี ณ ตำบลตระพังตรุ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสืบต่อไป  เสร็จศึกยุทธหัตถีแล้ว สมเด็จพระนเรศวรโปรดให้เจ้าเมือง มล่วน รวมทั้งควาญช้างกลับ ไปแจ้งข่าวการแพ้สงครามและการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี แล้วพระองค์ก็ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา ชื่อเสียงของกรุงศรีอยุธยาก็ลือเลื่องไปทั้งแผ่นดิน จากนั้นก็ทรงปรารภเรื่องการพระราชทานความดีความชอบแก่ พระยารามราฆพ ( กลางช้างของพระนเรศวร )
และ ขุนศรีคชคง ( ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ) โดยพระราชทานบำเหน็จ เครื่องอุปโภค เงิน ทอง ทาส และเชลยให้แล้วก็พระราชทานบำนาญแก่บุตรภรรยาของ นายมหานุภาพ และ หมื่นภักดีศวร ที่เสียชีวิตในสงครามให้สมกับความดีความชอบและที่มีความภักดีต่อพระองค์
ต่อ มาก็ทรงปรึกษาโทษแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทันตามกฎของพระอัยการศึกว่า ในการที่ข้าศึกยกทัพเข้ามาเหยียบแดนถึงชานพระนคร พระองค์และพระเอกาทศรถทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำนุบำรุงเหล่าสมณพราหมณ์และ ประชาราษฎรมิได้ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จออกไปปราบอริราชศัตรู แต่แม่ทัพนายกองทั้งปวงกลับกลัวข้าศึกยิ่งกว่าพระอาญา ไม่พยายามยกไปรบให้ทัน ปล่อยให้ทั้งสองพระองค์ทรงช้างพระที่นั่งฝ่าเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง จนถึงได้กระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะ ลูกขุนได้เชิญกฎพระอัยการออกค้นดู เห็นว่าจะได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากใกล้วัน 15 ค่ำ ( บัณรสี ) จึงทรงพระกรุณางดโทษไว้ก่อน ต่อวันหนึ่งค่ำ (ปาฏิบท) จึงให้ลงโทษประหาร

ตอนที่ 12 สมเด็จพระวันรัตขอพระราชทานอภัยโทษ 
ยัง ไม่พ้นเวลาที่สมเด็จพระนเรศวรทรงกำหนดไว้ พอถึงวันแรม 15 ค่ำ เวลาประมาณ 8 นาฬิกาเศษ สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้ว กับพระราชาคณะ 25 องค์สองแผนก คือ ฝ่ายคามวาสี และ อรัญวาสี พากันไปยังพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้นิมนต์เข้าไปในท้องพระโรง สมเด็จพระนเรศวรทรงประนมพระหัตถ์แสดงคารวะ พระวันรัตได้ทูลถามข่าวที่สมเด็จพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจนพระมหาอุปราชาขาดคอ ช้าง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงเล่าจบ พระวันรัตกราบทูลว่า พระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้าทรงได้รับชัยชนะ เหตุใดเล่าเหล่าบริพารจึงต้องโทษ ได้ยินแล้วที่สงสัย สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับเกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็นเจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลางข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้น ความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะคุณความดียิ่งใหญ่ที่ได้ทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้คอยอุดหนุนพระบรม เดชานุภาพของพระองค์สองพี่น้อง ถ้าไม่ได้ความดีแต่เก่าแล้ว ประเทศไทยจะต้องสิ้นอำนาจเสียแผ่นดินแก่กรุงหงสาวดีเป็นการเสื่อมเสีย เกียรติยศ จึงควรลงโทษถึงตายตามพระอัยการศึกเพื่อให้เป็นตัวอย่างมิให้คนอื่นเอาเยี่ยง อย่างสืบไป
สมเด็จพระวันรัตจึงกราบทูลว่า “ บรรดาข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนมีความจงรักภักดี เป็นการผิดแปลกไปจากแบบแผนแต่ก่อนที่ว่าไม่จงรักยำเกรงพระองค์ ทั้งนี้เพราะพระบรมเดชานุภาพสำแดงให้ปรากฏแก่ปวงชนเป็นที่น่าอัศจรรย์จึง บันดาลให้เป็นเช่นนั้น
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ( พระตรีโลกนาถ ) ทรงชนะพระยามารลำพังพระองค์เอง เช่นเดียวกับสมเด็จพระนเรศวร พระเอกาทศรถ เสด็จไปปราบอริราชศัตรูจนแพ้พ่ายโดยปราศจากไพร่พล พระเกียรติยศจึงเลื่องลือกึกก้องไปทั่วทุกแห่งหน หากมีทหารล้อมมากมายถึงเอาชนะได้
พระเกียรติยศก็ไม่ฟุ้งเฟื่องเพิ่ม พูนขึ้น และกษัตริย์ทั้งหลายก็จะไม่พากันออกพระนามเอิกเกริกกันเช่นนี้ ขอพระองค์ทั้งสองอย่าได้โทมนัสน้อยพระทัยไปเลย ทั้งนี้เพราะเพื่อราชกฤฎาภินิหารของพระองค์ ทวยเทพทั้งหลายจึงบันดาลให้เป็นไปดังนั้น ขอมหาบพิตรทั้งสองพระองค์ อย่าได้ทรงขุ่นแค้นพระทัยไปเลย ทั้งนี้เป็นไปตามที่กราบทูลทุกประการ ”

สมเด็จ พระนเรศวรได้ทรงฟังพระวันรัตถวายวิสัชนาบรรยายโดยพิสดารโดยวิธีเปรียบเทียบ กับกฤฎาภินิหารแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงปราโมทย์ ออกพระโอษฐ์สาธุถวายนมัสการแล้วตรัสว่า พระวันรัตกล่าวคำน่าขอบใจ ทุกสิ่งที่ชี้แจงสมควรและเป็นจริงไม่สงสัยแม้แต่น้อย
พระวันรัตเห็น ว่าทรงคลายกริ้วแม่ทัพนายกองแล้ว จึงกล่าวถวายพระพรให้พระองค์ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งปวง แล้วกราบทูลต่อไปว่า แม่ทัพนายกองเหล่านี้มีความผิดรุนแรง
ควรได้รับ โทษทั้งโคตร แต่เคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาแต่ก่อนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหา จักรพรรดิพระบรมราชอัยกา และสมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชบิดา จนล่วงถึงสมเด็จพระนเรศวรได้ขึ้นครองราชสมบัติ เปรียบได้กับพุทธบริษัททั้งปวง ช่วยกันดำรงพระพุทธศาสนาต่อมา ขอให้พระองค์ทรงงดโทษประหารชีวิตแม่ทัพนายกองไว้สักครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้เป็นกำลังส่งเสริมพระบรมเดชานุภาพ เมื่อศึกสงครามเกิดขึ้นอีก เขาเหล่านั้นจะคิดแก้ตัว หาความดีความชอบเพื่อเพิ่มพูนพระบารมีให้แผ่ไปทั่วบ้านเมืองชองพระองค์เป็น แน่
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงสดับข้อความของพระวันรัตที่ทูลขออภัยบรรดา แม่ทัพนายกองทั้งปวง ก็ทรงพระกรุณาที่ว่าบุคคลเหล่านี้ยังจงรักภักดีต่อพระองค์อยู่ จึงพระราชทานอภัยโทษตามคำทูลของพระวันรัต แต่ทรงเห็นสมควรที่จะใช้ให้ไปตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และ มะริด เป็นการชดเชยความผิด สมเด็จพระวันรัตกราบทูลว่า การรบทัพจับศึกไม่ใช่กิจอันควรที่พระภิกษุจะเห็นด้วย พระองค์จะทรงมีพระราชบัญชาใช้สอยประการใดสุดแล้วแต่พระราชอัธยาศัย แล้วสมเด็จพระวันรัตถวายพระพรลา พาคณะสงฆ์กลับวัด สมเด็จพระนเรศวรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพนายกองพ้นโทษและคงดำรงตำแหน่งยศเดิม
สมเด็จพระนเรศวรทรงมี พระราชกำหนดให้ เจ้าพระยาคลังคุมทหาร 50,000 คน ไปตีเมืองทวาย ให้เจ้าพระยาจักรีคุมทัพจำนวนรี้พลเท่ากันไปตีเมือง มะริด และ ตะนาวศรี มหาอำมาตย์ทั้งสองกราบถวายบังคมลาไปเตรียมทัพยกไปทันที
แล้วทั้งสอง พระองค์ก็มีพระราชดำรัสถึงหัวเมืองฝ่ายเหนือว่า ไทยได้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามาจำนวนมากแต่ยังไม่หมด ทรงมีพระราชดำริว่าถึงศึก พม่า มอญ ว่าคงจะลดลงถึงจะยกมาก็คงไม่น่ากลัว ควรจะได้ทะนุบำรุงหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ให้รุ่งเรืองปรากฏเป็นเกียรติยศสืบ ต่อไปชั่วกัลปาวสาน

ขุนช้างขุนแผน


  
มีนิทานเล่าขานกันมาว่า มีครอบครัวสามครอบครัว คือ ครอบครัวของขุนไกรพลพ่ายที่รับราชการทหาร มีภรรยาชื่อ นางทองประศรี โดยมีลูกชายด้วยกันชื่อ พลายแก้ว ครอบครัวต่อมาคือครอบครัวของขุนศรีวิชัย เป็นเศรษฐีใหญ่ของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกองกรมช้างนอก มีภรรยาชื่อ นางเทพทอง มีลูกชายชื่อว่า ขุนช้าง ซึ่งมีหัวล้านมาแต่เกิด และสุดท้ายเป็นครอบครัวของพันศรโยธา เป็นพ่อค้า มีภรรยาชื่อ ศรีประจัน มีลูกสาวรูปร่างหน้าตางดงามชื่อ นางพิมพิลาไลย

อยู่มาวันหนึ่งสมเด็จพระพันวษา ต้องการที่จะล่าควายป่า จึงได้สั่งให้ขุนไกรปลูกพลับพลาและต้อนควายเตรียมเอาไว้ แต่ควายป่าเหล่านั้นแตกตื่นไม่ยอมเข้าไปในคอก ในครั้งนั้นขุนไกรได้ใช้หอกแทงควายตายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนควายป่าที่รอดชีวิตอยู่ก็หนีเข้าป่า สมเด็จพระพันวษาโกรธมากสั่งให้ประหารขุนไกรเสีย นางทองประศรีรู้ข่าวเข้าจึงรีบพาพลายแก้วหนีไปอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี

ทางเมืองสุพรรณบุรี ได้มีพวกโจรจันศรขึ้นปล้นบ้านของขุนศรีวิชัยและฆ่าขุนศรีวิชัยตาย ส่วนพันศรโยธาได้เดินทางไปทำการค้าขายที่ต่างเมือง พอกลับมาก็เป็นไข้ป่าตายไป

ครั้นเมื่อพลายแก้วอายุได้ ๑๕ ปี ก็ได้บวชเณรเรียนวิชาอยู่ที่วัดส้มใหญ่ แล้วย้ายไปเรียนต่อที่วัดป่าเลไลย กาลต่อมาที่วัดป่าเลไลยได้จัดเทศน์มหาชาติขึ้น เณรพลายแก้วเทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสเณรพลายแก้วเป็นอันมากถึงกับเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางมาเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธมาก ต่อมาเณรพลายแก้วก็สึกออกมาแล้วให้แม่ของตนซึ่งก็คือนางทองประศรีมาสู่ขอนาง พิมและแต่งงานกัน

ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ได้เมืองเชียงทองแตกแล้ว ซึ่งเมืองนี้เป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งตอนนั้นได้รับราชการอยู่จึงเล่าถึงสามาราถของพลายแก้ว เพราะหวังที่จะพรากพลายแก้วไปจากนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมือง เชียงใหม่และได้นำชัยชนะกลับมา นายบ้านแสนคำแมนแห่งหมู่บ้านจอมทอง เห็นว่าพลายแก้วกับพวกทหารไม่ได้ทำการสิ่งใดให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน จึงยกนางลาวทองลูกสาวของตนให้ไปเป็นภรรยาของพลายแก้ว

ส่วนนางพิมพิลาไลย เมื่อสามีไปออกทัพได้ไม่นานนักก็ป่วยหนักรักษาเท่าไรก็ไม่หาย ขรัวตาจูวัดป่าเลไลยได้แนะนำให้ไปเปลี่ยนชื่อเป็นวันทอง อาการไข้จึงค่อยหาย ขุนช้างได้ทำอุบายหลอกนางวันทองโดยนำหม้อใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนาง วันทองดู พลางบอกว่าพลายแก้วตายแล้วและได้ขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไปเป็นม่าย หลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อคำขุนช้างว่า แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างนั้นเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานไปกับ ขุนช้าง นางวันทองจำใจต้องทำตามแม่ แต่นางไม่ยอมเข้าหอ ขณะนั้นพลายแก้วได้กลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาและได้บรรดาศักดิ์เป็นแผนแสน สะท้าน จากนั้นได้พานางลาวทองกลับไปที่สุพรรณบุรีนางวันทองเห็นขุนแผนพาภรรยาใหม่มา ด้วยก็ด่าทอนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวกับขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหมากจึงพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี ส่วนนางวันทองก็ตกเป็นภรรยาของขุนช้างไป

ต่อมาขุนช้างและขุนแผนได้เข้าไปรับราชการในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสอง คน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวกับขุนแผนว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ในตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างเท็จทูลไปว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาเมีย สมเด็จพระพันวษาโกรธมากจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมาขังไว้ในวัง ส่วนขุนแผนนั้นให้ไปตระเวนด่านห้ามเข้าวังอีก จึงทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างเป็นยิ่งนัก จึงคิดช่วงชิงนางวันทองกลับคืนมา จึงออกตามหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง และม้าสีหมอก ขุนแผนเดินทางไปจนถึงซ่องโจรของหมื่นหาญก็ได้สมัครเข้าเป็นสมุน วันหนึ่งได้ช่วยชีวิตหมื่นหาญให้รอดพ้นจากการถูกวัวแดงขวิดตายเอาไว้ได้ หมื่นหาญจึงยกนางบัวคลี่ลูกสาวของตนให้ไปเป็นภรรยาของขุนแผน ต่อมาหมื่นหาญรู้ว่าขุนแผนมีวิชาอาคมที่สูงกว่าตนก็คิดกำจัด โดยสั่งให้นางบัวคลี่วางยาฆ่าขุนแผน แต่พรายของขุนแผนมาบอกให้รู้ตัวก่อน คืนนั้นพอนางบัวคลี่นอนหลับ ขุนแผนจึงผ่าท้องนางและควักเอาเด็กไปทำพิธีปลุกเสกให้เป็นกุมารทอง ต่อจากนั้นก็ทำพิธีตีดาบฟ้าฟื้นและได้ไปซื้อม้าลักษณะดีได้ตัวหนึ่ง ชื่อ ม้าสีหมอก แล้วขุนแผนก็เข้าไปที่บ้านของขุนช้างแล้วสะกดคนให้หลับจนหมดแล้วขึ้นไปบน บ้านแต่ไปเข้าห้องผิด จึงได้พบกับนางแก้วกิริยาและได้นางเป็นภรรยาในที่สุด หลังจากนั้นก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าแล้วหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ทรงให้ทหารตามจับตัวขุนแผนมา แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายเสียซะส่วนใหญ่ ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องขึ้นมาจึงพากันออกมามอบและ สู้คดีจนชนะคดี ขุนแผนนางวันทอง และนางแก้วกิริยาจึงอยู่ร่วมกันด้วยความสุข แต่ขุนแผนได้นึกถึงนางลาวทองจึงได้ขอร้องจมื่นศรีเสาวรักษ์ให้ขอตัวนางจาก สมเด็จพระพันวษาทำให้พระองค์โกรธขุนแผนว่ากำเริบจึงสั่งให้จำคุกขุนแผนเอา ไว้ นางแก้วกิริยาก็ตามไปปรนนิบัติขุนแผน ส่วนนางวันทองนั้นพักอยู่ที่บ้านของหมื่นศรี ขุนช้างได้พาพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีกครั้ง ต่อมานางได้คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม เมื่อขุนช้างรู้ว่าไม่ใช่ลูกตนก็เกลียดชังเป็นหนักหนา วันหนึ่งจึงหลอกพาเข้าไปในป่าแล้วทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้ พรายของขุนแผนมาช่วยได้ทัน นางวันทองจึงให้พลายงามไปอยู่กับนางทองประศรีที่กาญจนบุรีพลายงามได้ร่ำ เรียนวิชาของพ่อจนเชี่ยวชาญ ขุนแผนจึงได้พาไปฝากไว้กับหมื่นศรี เพื่อหาโอกาสให้เข้ารับราชการ

ทางฝ่ายพระเจ้าเชียงอินทร์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ได้สั่งให้ทหารไปชิงเอาตัวนางสร้อยทองที่เป็นธิดาของพระเจ้าล้านช้างใน ระหว่างการเดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา เพราะพระเจ้าล้านช้างต้องการเป็นไมตรีด้วยจึงได้ส่งธิดามาถวายตัว และพระเจ้าเชียงอินทร์ได้ส่งหนังสือท้าทายสมเด็จพระพันวษาอีกด้วย พลายงามเห็นโอกาสจึงอาสาออกไปรบ และขอให้ปล่อยขุนแผนออกจากคุกด้วย เพื่อจะได้ช่วยทำศึก ขุนแผนจึงพ้นโทษได้ ในขณะที่กำลังเตรียมทัพนางแก้วกิริยาก็คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายชุมพล แล้วขุนแผนกับพลายงามก็คุมทัพมุ่งสู่เชียงใหม่ ขุนแผนได้แวะไปเยี่ยมพระพิจิตรกับนางบุษบาซึ่งได้เคยให้ความช่วยเหลือตน เมื่อตอนที่ขุนแผนกับนางวันทองเข้ามอบตัวกับทางการ พลายงามจึงได้พบกับนางศรีมาลาและได้นางเป็นภรรยา จากนั้นก็คุมทัพไปรบกับเชียงใหม่แล้วได้ชัยชนะกลับมา ครั้นเมื่อกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา ขุนแผนได้เป็นพระสุรินฤาไชย เจ้าเมืองกาญจนบุรี พลายงามได้เป็นจมื่นไวยวรนาถ และสมเด็จพระพันวษาก็ยกนางสร้อยฟ้าที่เป็นธิดาของพระเจ้าเชียงอินทร์ให้แต่ง งานกับพระไวยพร้อม ๆ กับนางศรีมาลา

พระไวยอยากให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงได้ไปลักพาตัวนางวันทองมา ขุนช้างโกรธแค้นเป็นยิ่งนักจึงไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงได้มีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางนั้นตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาจึงว่านางว่าเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารเสีย พระไวยขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามไม่ทัน

ในส่วนของครอบครัวพระไวยไม่สู้ราบรื่นนัก เพราะนางสร้อยฟ้าไม่พอใจที่พระไวยและนางทองประศรีรักนางศรีมาลามากกว่านาง จึงมักจะมีการทะเลาะกันอยู่เนื่องๆ นางสร้อยฟ้าเจ็บใจจึงให้เถรขวาดทำเสน่ห์ให้พระไวยหลงรักนาง แล้วนางสร้อยฟ้าก็หาเรื่องให้พระไวยตีนางมาลา พลายชุมพลเข้าไปห้ามก็ถูกตีไปด้วย พลายชุมพลถึงกับน้อยใจจึงหนีออกจากบ้านไปหาพ่อและแม่ที่กาญจนบุรีแล้วเล่า เรื่องให้ฟังทั้งหมด แล้วไปหายายที่สุโขทัย และได้บวชเณรและเล่าเรียนอยู่ที่นั้น ฝ่ายขุนแผนรีบไปที่บ้านของพระไวย แล้วเสกกระจกมนต์ให้ดูว่าถูกทำเสน่ห์ แต่พระไวยหาได้เชื่อไม่ กลับหาว่าพ่อเล่นกลให้ดู และพูดลำเลิกบุญคุณที่ตนช่วยพ่อออกมาจากคุก ขุนแผนแค้นเป็นอันมากประกาศตัดพ่อตัดลูก แล้วกลับกาญจนบุรีทันที

พลายชุมพลเรียนวิชาจนสำเร็จแล้วก็นัดหมายกับขุนแผนจะแก้แค้นพระไวย โดยพลายชุมพลสึกออกจากเณรแล้วปลอมเป็นมอญ ใช้ชื่อ สมิงมัตรา ยกกองทัพหุ่นหญ้าเสกมาถึงสุพรรณบุรี สมเด็จพระพันวษา ให้ขุนแผนยกทัพไปต้านศึกไว้ แต่ขุนแผนแกล้งแพ้ให้ถูกจับ พระไวยจึงต้องยกทัพออกไปและต่อสู้กับพลายชุมพล ระหว่างที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้น ขุนแผนบอกให้พลายชุมพลจับตัวพระไวยไว้ พระไวยเห็นพ่อเข้าก็ตกใจหนีไปฟ้องสมเด็จพระพันวษาพระองศ์จึงให้นางศรีมาลาไป รับตัวขุนแผนกับพลายชุมพลเข้าวัง พลายชุมพลอาสาจับเสน่ห์ โดยได้ขอหมื่นศรีไปเป็นพยานด้วย พลายชุมพลจับตัวเถรขวาดกับเณรจิ๋วไว้ได้ แล้วขุดเอารูปปั้นลงอาคมที่ฝั่งไว้ใต้ดินขึ้นมาเสน่ห์ที่ทำไว้จึงคลายลง ตกดึกเถรขวาดกับเณรจิ๋วสะเดาะโซ่ตรวนหนีไป ในการไต่สวนคดีนางสร้อยฟ้านั้น นางไม่ยอมรับว่าเป็นคนทำเสน่ห์ และได้ใส่ร้ายว่านางศรีมาลาเป็นชู้กับพลายชุมพล พอนางจับได้พลายชุมพลก็หนีไปยุยงขุนแผน จนในที่สุดก็ต้องมีการพิสูจน์ความบริสุทธิ์โดยการลุยไฟนางสร้อยฟ้าแพ้ถูกไฟ ลวกจนพุพองทั้วตัว ส่วนนางศรีมาลานั้นไม่เป็นอะไรเลย สมเด็จพระพันวษาจึงสั่งประหารนางสร้อยฟ้า แต่นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ จึงถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่เชียงใหม่ตามเดิม ในระหว่างการเดินทางก็พบเถรขวาดกับเณรจิ๋ว จึงเดินทางไปด้วยกัน กลับถึงเชียงใหม่ได้ไม่นานนักนางก็ให้กำเนิดลูกชาย ชื่อ พลายยง ส่วนนางศรีมาลาก็คลอดลูกชายเช่นกัน ขุนแผนตั้งชื่อให้ว่า พลายเพชร

พระเจ้าเชียงอินทร์ ตั้งเถรขวาด เป็นพระสังฆราชเพื่อเป็นการตอบแทนความดีความชอบที่พานางสร้อยฟ้ากลับมาบ้าน เมืองได้อย่างปลอดภัย แต่เถรขวาดยังมีความแค้นต่อพลายชุมพล จึงเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยา แล้วแปลงกายเป็นจระเข้เที่ยวอาละวาดฆ่าคนและสัตว์ไปเป็นจำนวนมาก พลายชุมพลจึงอาสาออกปราบจระเข้จนสำเร็จ ได้ตัวเถรขวาดมาประหารชีวิต พลายชุมพลได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงนายฤทธิ์ นับจากนั้นเป็นต้นมาทุกคนก็อยู่กันอย่างมีความสุข





พระอภัยมณี


 

เนื้อเรื่องตอนที่ 1 การผจญภัยของพระอภัยมณี

พระอภัยมณีและศรีสุวรรณเป็นโอรสของท้าวสุทัศน์และปทุมเกสร กษัตริย์ผู้ครองเมืองรัตนา เจ้าชายทั้งสองได้ออกเดินทางจากบ้านเมืองเพื่อเรียนไสยศาสตร์ และเสาะหาของวิเศษจากทิศาปาโมกข์ตามคำสั่งของบิดา แต่พระอภัยมณีกลับเลือกเรียนวิชาดนตรีคือการเป่าปี่ได้เป็นเอก มีอานุภาพโน้มน้าวจิตในคนหรือประหารผู้ฟังได้ตามใจปรารถนา ส่วนศรีสุวรรณเรียนวิชากระบี่กระบองจนเป็นเลิศ เมื่อกลับมาถึงบ้านเมือง ท้าวสุทัศน์โกรธมากที่โอรสไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและโดยที่ไม่ได้พิจารณาคุณค่า ของสิ่งที่โอรสเรียนมาพระองค์ได้ตรัสในทำนองว่าน่าจะไล่ออกจากเมือง พระอภัยมณีและศรีสุวรรณน้อยใจจึงชวนกันออกจากเมืองไป

ทั้งสองพระองค์เดินทางด้นดั้นมาจนถึงริมฝั่งทะเล ได้พบพราหมณ์หนุ่มน้อยสามคน มีโมรา ผู้ชำนาญในการผูกหญ้าเป็นสำเภายนต์
ท่องทะเล วิเชียร ผู้สามารถยิงธนูได้คราวละ 7 ลูก และสานน ผู้สามารถเรียกลมฝนได้ตามใจปรารถนา เมื่อพราหมณ์ทราบปัญหาของกษัตริย์ทั้งสองแล้ว เกิดสงสัยในวิชาเป่าปี่ของของพระอภัยมณีว่ามีคุณค่าอย่างไร พระอภัยมณีเป่าปี่ให้ฟัง พราหมณ์ทั้งสามรวมทั้งศรีสุวรรณได้ฟังก็เคลิ้มหลับใหลไป ระหว่างนั้น นางผีเสื้อสมุทร ซึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำใต้ทะเลได้ผ่านมาเห็นพระอภัยมณีนั่งเป่าปี่อยู่ ก็นึกรัก จึงอุ้มพาไปไว้ในถ้ำ แปลงตนเป็นหญิงสาวคอยปรนนิบัติ พระอภัยมณีดูดวงตาก็รู้ว่ามิใช่มนุษย์แต่ก็จำทนต้องอยู่กินกับนางผีเสื้อสมุทร จนมีลูกชื่อว่าสินสมุทร

ฝ่ายศรีสุวรรณและพราหมณ์ทั้งสามคน เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เห็นพระอภัยมณีก็ออกติดตามจนพลัดหลงไปยังเมืองรมจักร ศรีสุวรรณปลอมตัวเป็นพราหมณ์เข้าเมือง จนได้พบนางเกษราธิดาของท้าวทศวงศ์เจ้าเมือง เกิดความรักต่อกัน ขณะนั้นเมืองรมจักรกำลังประสบปัญหาคือ ท้าวอุเทนกษัตริย์เมืองชวามาสู่ขอนางเกษรา ท้าวทศวงศ์ไม่ยอมยกให้ เพราะเห็นว่าเป็นกษัตริย์ต่างชาติ ต่างศาสนา ท้าวอุเทนยกกองทัพมาตีเมืองรมจักร ศรีสุวรรณและพราหมณ์ทั้งสามอาสาสู้ศึกจนได้ชัยชนะ ศรีสุวรรณได้อภิเษกกับนาง เกษรา ได้ครองเมืองรมจักรและต่อมามีธิดานามว่า อรุณรัศมี

ด้านพระอภัยมณี ได้โอกาสหนีนางผีเสื้อสมุทร โดยอาศัยลูกคือสินสมุทร ทั้งนี้เพราะสินสมุทรเมื่ออายุได้ 8 ปี เป็นคนมีพละกำลัง มีอำนาจ มีความสามารถเหมือนแม่ ได้เปิดหินปากถ้ำออกไปเที่ยวเล่น พบเงือกก็จับมาให้พระอภัยมณีดู พระอภัยมณีจึงวางแผนหนีร่วมกับนางเงือกซึ่งอาสาจะช่วยเหลือ หลังจากออกอุบายให้นางผีเสื้อสมุทรไปจำศีลสะเดาะเคราะห์แล้ว พระอภัยมณีและสินสมุทรก็หนีนางผีเสื้อสมุทรมุ่งตรงไปยังเกาะแก้วพิสดารซึ่งมีพระโยคีผู้วิเศษพำนักอยู่ โดยพระอภัยมณีอาศัยผลัดขี่หลังเงือกพ่อ แม่ และลูกสาว ว่ายน้ำได้กันได้ห้าคืน นางผีเสื้อสมุทรกับมาถึงถ้ำรู้เรื่องก็ตามมาทัน จับเงือกพ่อ เงือกแม่กินเสีย พระอภัยมณีขี่หลังเงือกลูกสาวต่อไป โดยมีสินสมุทรต่อสู้กับผีเสื้อสมุทรถ่วงเวลาไว้ ในที่สุดพระอภัยมณี นางเงือก และสินสมุทรสามารถขึ้นเกาะแก้วพิสดารได้ นางผีเสื้อสมุทรไม่สามารถติดตามต่อไปได้ เพราะอำนาจมนต์ของพระโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดาร และขณะที่พักอาศัยอยู่กับพระโยคี พระอภัยมณีก็ได้นางเงือกเป็นเมีย ต่อมาพระอภัยมณีและสินสมุนทรได้บวชเป็นฤาษี ได้สนิทสนมกับคนเรือแตกหลายชาติหลายภาษา ซึ่งอาศัยใบบุญของพระโยคีด้วยกัน


เนื้อเรื่องตอนที่ 2 การเดินทางของนางสุวรรณมาลี
      กล่าวถึงเมืองผลึก มีท้าวสิลราชเป็นกษัตริย์ปกครอง มีธิดาชื่อว่านางสุวรรณมาลี ซึ่งได้หมั้นหมายไว้กับอุศเรน โอรสของกษัตริย์ฝรั่งเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีฝันว่า ต้องระเหเร่ร่อนอยู่กลางทะเล พลัดพรากจากบ้านเมือง โหรจึงแนะนำให้สะเดาะเคราะห์โดยการออกท่องเที่ยวทะเล ระหว่างการเดินทาง เรือโดนพายุหลงทิศทาง ไปจนถึงเกาะแก้วพิสดาร ท้าวสิลราชและนางสุวรรณมาลีได้ขึ้นเฝ้าพระโยคี และได้พบกับพระอภัยมณี
เมื่อซ่อมแซมเรือและได้เสบียงอาหารแล้ว ท้าวสิลราชก็พระโยคีกลับเมือง พระอภัยมณี สินสมุทร และพวกเรือแตกทั้งหลายก็อาศัยเดินทางไปด้วย ระหว่างการเดินทาง ถึงแม้จะรู้ว่านางสุวรรณมาลีมีคู่หมั้นอยู่แล้ว พระอภัยมณีก็ยังเกี้ยวนาง โดยอาศัยสินสมุทรเป็นสื่อรัก สินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีสนิทสนมกันมาก สินสมุทรเรียกนางว่าแม่ เมื่อนางผีเสื้อสมุทรซึ่งวนเวียนคอยพระอภัยมณีอยู่ทำให้เรือแตก สินสมุทรก็อุ้มนางสุวรรณมาลีว่ายน้ำไป จนกระทั่งถึงเกาะและปลอดภัย ท้าวสิลราชสูญหายไปพร้อมไพร่พล ส่วน พระอภัยมณีกับพรรคพวกจากเกาะแก้วพิสดารว่ายน้ำไปขึ้นบนเกาะเล็ก ๆ ต่อมาใช้การเป่าปี่เป็นอาวุธฆ่านางผีเสื้อสมุทร หลังจากนั้นได้พบกับอุศเรนคู่หมั้นของนางสุวรรณมาลีที่ออกเรือเดินทางติดตามหานางมา เมื่อทราบเรื่องกัน พระอภัยมณีก็ได้อาศัยเรือของอุศเรนติดตามหาสินสมุทรและนางสุวรรณมาลีด้วยกัน
สินสมุทรและนางสุวรรณมาลี ออกจากเกาะร้างโดยอาศัยเรือของโจรสุหรั่งที่แวะเกาะร้างเพื่อหาน้ำจืด
เรือของโจรสุหรั่งเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร มีตึกรามบ้านช่อง สวนผลไม้ และสัตว์เลี้ยงอยู่บนเรือครบถ้วน พร้อมพรั่งด้วยเรือกำปั่นอีกห้าร้อยมีอาวุธครบ เที่ยวปล้นเรือและบ้านเมืองต่าง ๆ ต่อมาสินสมุทรฆ่าหัวหน้าโจรตาย เพราะโกรธหัวหน้าโจรที่ทำลวนลามต่อนางสุวรรณมาลี ไพร่พลของโจรสุหรั่งเกรงกลัวฤทธิ์เดชของสินสมุทร จึงยอมอยู่ใต้อำนาจ สินสมุทรคุมเรือโจรสุหรั่งจนกระทั่งถึงเมืองรมจักร เกิดรบพุ่งกับ ศรีสุวรรณ สินสมุทรจับศรีสุวรรณได้ ตอนนั้นศรีสุวรรณมองเห็นสินสมุทรสวมแหวนของพระอภัยมณี จึงได้ถามขึ้น ก็ทราบว่าเป็นอาเป็นหลานกัน ศรีสุวรรณเข้าใจว่านางสุวรรณมาลีเป็นแม่แท้ ๆ ของสินสมุทร เพราะสินสมุทรบอกเช่นนั้น นางสุวรรณมาลีก็ไม่ปฏิเสธ ต่อมาศรีสุวรรณ สินสมุทร นางสุวรรณมาลี และ อรุณรัศมี ได้พากันออกติดตามหาพระอภัยมณี เมื่อฝ่ายที่ตามหากันได้พบกัน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น เพราะสินสมุทรไม่ยอมคืนนางสุวรรณมาลี และนางสุวรรณมาลีก็เลือกที่จะอยู่กับสินสมุทร ซึ่งหมายความว่านางเลือกอยู่กับพระอภัยมณีแทนที่จะเลือกอุศเรน ทั้งสองฝ่ายจึงทำสงครามกัน อุศเรนถูกสินสมุทรจับได้ แต่พระอภัยมณีขอชีวิตไว้เพื่อตอบแทน บุญคุณ อุศเรนกลับเมืองลังกาด้วยความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท

ส่วนฝ่ายพระอภัยมณีเดินทางสู่เมืองผลึก มเหสีท้าวสิลราชเห็นนางสุวรรณมาลีกลับมาก็ดีใจมาก เมื่อนางทราบว่าพระอภัยมณี
ีเป็นโอรสกษัตริย์และมีรูปงาม นางจึงยกเมืองผลึกให้พระอภัยมณีครอบครองหวังจะได้อภัยมณีเป็นเขย แต่
นางสุวรรณมาลีไม่ยอมอภิเษกกับพระอภัยมณีเพราะนางเห็นว่า พระอภัยมณีใจโลเล ขี้ขลาด ไม่กล้าตัดสินใจเมื่อเกิดปัญหากับอุศเรน ทำให้นางต้องอับอายขายหน้า นางจึงออกบวชเป็นชี พระอภัยมณีพยายามอย่างไรก็ไม่ประสบผลจนกระทั่งได้นางวาลี หญิงเจ้าปัญญาแต่รูปชั่วมาช่วยวางแผน จึงได้อภิเษกกับนาง เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พระอภัยมณีจึงได้ศรีสุวรรณและสินสมุทร เดินทางกลับไปเยี่ยมท้าวสุทัศน์ที่เมืองรัตนา


เนื้อเรื่องตอนที่ 3 กำเนิดสุดสาคร และศึกระหว่างเมืองผลึกกับเมืองลังกา
นางเงือก ซึ่งอาศัยอยู่ที่อ่าวหน้าเกาะแก้วพิสดารได้คลอดลูกชาย พระโยคีนำไปเลี้ยงไว้ให้ชื่อว่า สุดสาคร สุดสาครเป็นเด็กที่มีความสามารถโดยกำเนิดอยู่แล้ว เมื่อได้เรียนวิชาอาคมจากพระโยคีก็ยิ่งเก่งกล้ามากขึ้น เมื่ออายุได้สามขวบก็ลาพระโยคีและแม่ ออกตามมหาบิดา โดยมีม้านิลมังกร ม้าวิเศษลูกผสมระหว่างม้ากับมังกร ซึ่งจับได้กลางทะเลเป็นพาหนะคู่ใจ และมีไม้เท้าของพระโยคีเป็นอาวุธคู่มือ ระหว่างการเดินทางได้ผจญภัยต่าง ๆ กันเช่น รบกันพวกผีดิบ ถูกชีเปลือยเฒ่าเจ้าเล่ห์ผลักตกเหว แต่ทุกครั้งพระโยคีก็มาช่วย และสอนให้รู้ถึงการดำรงชีวิตในโลกด้วย
 

ต่อมาสุดสาครได้เข้าไปถึงเมืองการะเวก กษัตริย์เมือง การะเวกเห็นเข้าก็นึกรัก จึงเลี้ยงไว้เป็นโอรสบุญธรรมคู่กับธิดาของพระองค์
ชื่อเสาวคนธ์ ต่อมาพระองค์มีโอรสอีกองค์หนึ่งคือหัสไชย สุดสาครอยู่ในเมืองการะเวกถึง 10 ปี ก็ทูลลาเจ้าเมืองการะเวกติดตามพระบิดา นางเสาวคนธ์และหัสไชยได้ขอติดตามไปด้วย

สงครามระหว่างเมืองผลึกกับเมืองลังกาเกิดขึ้นจากความโกรธของอุศเรน ผลการรบปรากฏว่าเมืองผลึกชนะด้วยอุบาย
อันชาญฉลาดของนางวาลี อุศเรนถูกจับได้ พระอภัยมณีกำลังจะปล่อยกลับเมือง แต่นางวาลีใช้อุบายยั่วจนอุศเรนอกแตกตาย ปีศาจอุศเรนกลับมาฆ่านางวาลีในภายหลังด้วย เจ้าลังกาเศร้าโศกถึงอุศเรนจนตรอมใจตาย นางละเวงวัลลาธิดาได้ครองเมือง
ต่อมาแล้วทำสงครามแก้แค้นพระอภัยมณีต่อไป กลายเป็นศึกยืดเยื้อ มีการใช้อุบายให้กษัตริย์เมืองต่าง ๆ มาช่วยนางรบ ใครชนะจะได้นางและครองเมืองลังกา ศึกที่สำคัญ ๆ เช่น ศึกเจ้าละมานตีเมืองผลึก ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก ศึก
พระอภัยมณีตีเมืองลังกา เป็นต้น สงครามครั้งนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1. การทำสงครามของทั้งสองฝ่าย สุนทรภู่ได้บรรยายถึงฉากการรบในทะเลเป็นส่วนใหญ่ อาวุธที่ใช้ในการรบมีทั้งอาวุธธรรมดา เช่นปืน ดาบ และอาวุธทางไสยศาสตร์ คาถาอาคมการสะกดทัพ แต่สิ่งที่ชี้ขาดชัยชนะ สุนทรภู่เน้นที่สติปัญญาของตัวละคร
2. ตัวละครสำคัญในฐานะแม่ทัพของฝ่ายเมืองผลึกมี พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร นางสุวรรณมาลี สุดสาคร พราหณ์โมรา สานนและวิเชียร พร้อมด้วยนางเสาวคนธ์และหัสไชย ซึ่งเดินทางมาพบบิดาที่เมืองผลึกในช่วงที่พระอภัยมณี
กำลังหลงรูปนางละเวงที่ถูกปีศาจเจ้าละมานสิง ตัวละครสำคัญฝ่ายเมืองลังกามี นางละเวง นางรำภาสะหรีลูกอิเรนแม่ทัพ นางยุพาผกา
นางสุลาลีวัน ซึ่งเป็นธิดาบุญธรรมของนางละเวง โดยมีที่ปรึกษาคือ พระสังฆราชและบาทหลวงปีโป มีทหารเอกครึ่งคนครึ่งผีดิบ
คือ ย่องตอด
3. การทำสงครามอันยาวนานนี้ จุดเริ่มมาจากความโกรธแค้นพยาบาท แต่ต่อมาในตอนหลัง ๆ ตัวละครทั้งสองฝ่ายอ้างว่า
ตนต้องทำสงครามเพื่อรักษาชาติและศาสนา ฝ่ายเมืองผลึกก็กลัวสูญชาติศาสนา ถ้าแพ้ฝรั่งลังกา ฝ่ายลังกาก็กลัวสิ้นชาติศาสนา
ถ้าแพ้ฝ่ายเมืองผลึก
4. ขณะที่ตัวละครอื่น ๆ ฝ่ายเมืองผลึก มุ่งชัยชนะทางการทหาร แต่พระอภัยมณีกลับทำสงครามโดยอาศัยการเขียนเพลงยาวถึงนางละเวง พระอภัยมณีให้เหตุผลว่า ถ้าได้นางก็จะได้เมืองด้วย โดยไม่ต้องเสียทหารในการรบ ดังคำกลอน "วิสัยพี่ชำนาญแต่การปาก มิให้ยากพลไพร่ใช้หนังสือ" ซึ่งสุดท้ายก็ทำสำเร็จสมประสงค์
5. ตัวละครเอกผู้ชายฝ่ายเมืองผลึก คือพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร สุดสาคร ถูกฝ่ายนางละเวงทำเสน่ห์ จนหนีกองทัพเข้าไปอยู่กินกับผู้หญิงฝ่ายเมืองลังกา ศรีสุวรรณกับนางรำภาสะหรี สินสมุทรกับนางยุพาผกา สุดสาครกับนางสุลาลีวัน ทิ้งให้กองทัพฝ่ายเมืองผลึกอยู่ในความควบคุมของ นางสุวรรณมาลี นางเสาวคนธ์และหัสไชย เหตุการณ์ตอนนี้เป็นทั้งสงครามรักและสงครามรบ
6. สงครามทั้งสองฝ่ายพัวพันกันจนยุ่งเหยิง บุคคลสำคัญที่มาหย่าทัพให้กษัตริย์ทั้งหมดสามัคคีกันคือ พระโยคีแห่งเกาะแก้วพิสดาร
เสร็จศึกลังกาแล้ว พระอภัยมณีได้จัดการอภิเษกสินสมุทรกับนางอรุณรัศมี และสู่ขอนางเสาวคนธ์ให้กับสุดสาคร แต่นางเสาวคนธ์ไม่ยอมอภิเษกด้วย เพราะนางโกรธที่สุดสาครมีเมียฝรั่ง คือนางสุลาลีวัน นางจึงปลอมตัวเป็นฤาษีชื่อพระอัคนีแล่นเรือไปยังเมืองวาหุโลม ทำสงครามชนะเจ้าวาหุโลมและได้ครองเมือง ฝ่ายสุดสาครติดตามมาจนถึงเกาะค้างคาว ได้เรียนอุปเท่ห์สตรีจากเฒ่าที่เกาะ พอเข้าเมืองวาหุโลมก็ได้นางเสาวคนธ์ตามที่ปรารถนา

เนื้อเรื่องตอนที่ 4 ปิดเรื่อง
การศึกครั้งนี้เกิดขึ้นระหว่างพ่อแม่กับลูก ฝ่ายเมืองลังกามีผู้นำคือ มังคลา ซึ่งเป็นโอรส พระอภัยมณีกับนางละเวง วลายุดา วายุพัฒ หัสกัน โอรสของศรีสุวรรณ สินสมุทร สุดสาคร ตามลำดับ ฝ่ายเมืองผลึกประกอบด้วยเมืองผลึก เมืองรมจักร เมืองการะเวก รวมทั้งนางละเวง นางรำภาสะหรี นางยุพาผกาและนางสุลาลีวันก็เข้าร่วมกับฝ่ายเมืองผลึกด้วย เพราะโกรธแค้นโอรสของตัวเองที่รบกับบิดาและ
วงศาคณาญาติ ต้นเหตุของสงครามก็คือ เมื่อมังคลาขึ้นครองเมืองแทนนางละเวง พระสังฆราชยุให้มังคลาไปแย่งโคตรเพชร
ของเมืองลังกา ซึ่งนางเสาวคนธ์ขอนางการะเวกไปกลับคืนมา แต่นี่เป็นเพียงแต่ข้ออ้างเท่านั้น เพราะมังคลาส่งกองทัพไปโจมตี
ทั้งเมืองการะเวก เมืองผลึกและเมืองรมจักรในเวลาเดียวกัน พอดีช่วงเวลานั้น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร ไปทำศพท้าวสุทัศน์ที่เมืองรัตนา ส่วนสุดสาครและนางเสาวคนธ์ยังไม่ได้กลับเข้าเมืองการะเวก ฝ่ายมังคลาจึงจับนางสุวรรณมาลีและธิดาคือสร้อยสุวรรณ จันทร์สุดา รวมทั้งท้าวทศวงศ์และนางเกษราไปขังไว้ที่เมืองลังกา เมื่อทราบข่าวร้ายพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทรก็รีบยกทัพไปเมืองลังกาสมทบกับสุดสาคร และนางเสาวคนธ์ ฝ่ายนางละเวงเข้าร่วมกับฝ่าย พระอภัยมณีทำสงครามกับโอรสของตน สุดท้ายฝ่ายลูกก็สู้พ่อแม่ไม่ได้ เลยหลบหนีไป
 

เมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อยแล้ว ศรีสุวรรณก็กลับไปครองรมจักร หัสไชยได้อภิเษกกับสร้อยสุวรรณจันทร์สุดา
และกลับไปครองเมืองการะเวก สินสมุทรครองเมืองผลึก สุดสาครครองเมืองลังกา ส่วนพระอภัยมณีโกรธนางสุวรรณมาลี
ีและนางละเวงในการที่ไม่ปรองดองกัน จึงออกบวชเป็นฤาษี นางสุวรรณมาลีและนางละเวงจึงออกบวชเป็นชี มาคอยรับใช้พระอภัยมณีที่เขาสิงคุตร